หน้าที่ของฮอร์โมน Estrogen และ Progesterone
ฮอร์โมน Estrogen เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากรังไข่ ซึ่งมีอิทธิผลต่อระบบต่าง ๆของสตรีอย่างมาก มีหน้าที่ คือ
ควบคุมการเจริญและการทำงานของระบบสืบพันธุ์การเพิ่มของไขมันร่างกายเมื่อเข้าสู่วัยสาว
กระตุ้นการเจริญเติบโตเยื่อบุมดลูกเนื้อเยื่อเต้านม
เพิ่มการหล่อลื่นในช่องคลอดผนังช่องคลอดหนาขึ้น
รักษาผิวพรรณและผิวหนังให้ดูเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล อ่อนหวาน
ช่วยเป็นตัวประสานทำให้วิตามินดีรวมเข้ากับแคลเซียมเพื่อสร้างกระดูก
การรักษาระดับน้ำตาลในเลือด
ลดการสะสมของไขมัน LDL เพิ่ม HDL และไตรกลีเซอไรด์
เก็บรักษาน้ำ และเกลือ(โซเดียม)
ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ (เพิ่มท้องผูก)
เพิ่มคอเลสเตอรอลในน้ำดี
สนับสนุนต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม
ฮอร์โมนprogesterone เป็นฮอร์โมน ที่สร้างจาก คอเลสเทอรอล นอกจากสามารถ สร้างที่รังไข่ได้แล้ว ยังสามารถสร้างได้จากรก ต่อมอะดรีนัล คอร์เท็กซ์ มีหน้าที่ คือ
ปรับเยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาตัวขึ้นจาก เอสโตรเจน Estrogen ให้หลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน
เตรียมร่างกายสำหรับการตั้งครรภ์พัฒนาเยื่อบุของมดลูกจนกระทั่งมีประจำเดือนหรือการปฏิสนธิ
ช่วยในการหลีกเลี่ยงอาการของ PMS และวัยหมดประจำเดือนโดยการถ่วงดุลกับฮอร์โมน Estrogen
ช่วยเหลือร่างกายในการเผาไหม้ไขมันและขับปัสสาวะเพื่อให้ความดันโลหิตมีความเสถียร
ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านม
ป้องกันไม่ให้เกิด สิวผิวหนังมันจัด ขนขึ้นที่ใบหน้าแขนขาและผมบางเกินไป
มีความเครียด จะเกิดอะไรขึ้น ? ฮอร์โมนใดไม่สมดุล ?
ความเครียดที่มีบทบาทหลัก และมีอิทธิพลมาก ทำให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมน ความเครียดกระตุ้นการปล่อย adrenaline จากต่อมหมวกไต (adrenal gland) เช่น เห็นสัตว์ที่อันตรายในป่า ....แล้ววิ่งหนีมันเพื่อความปลอดภัย เมื่อพ้นแล้วทุกอย่างก็สงบเข้าที่ โดยต่อมหมวกไตปล่อยฮอร์โมน cortisolออกมา เพื่อลดความเครียด หรือความตื่นเต้นนั้น ให้หมดไป ไม่ได้มีผลเสียในระยะยาว ร่างกายเข้าสู่สภาวะปรกติได้
อย่างไรก็ตาม ในยุคสังคมสมัยใหม่ของเรานี้ เราอยู่ภายใต้ความเครียดคงที่หรือเรื้อรัง ซึ่งร่างกายเราไม่ได้ถูกตั้งโปรแกรมให้จัดการเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ต่อมหมวกไตต้องผลิต cortisol เพื่อ buffer เราจากความเครียดตลอดเวลาเมื่อสถานการณ์การใช้ชีวิตที่ต้องดิ้นลนต่อสู้เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนาน วัตถุดิบสำรองที่ใช้ผลิต cortisol ย่อมหมดไป หรือไม่พอใช้ ร่างกายของเราไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับกับสถานการณ์อย่างเช่นนี้
เมื่อยังต้องการ cortisol อยู่เพื่อชดเชยกับ stress ที่เกิดขึ้น ร่างกายจะขโมย "หน่วยโครงสร้าง" อื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายกันมาสร้างแทน
เพื่อผลิต cortisol มากขึ้น? คุณลองเดาดูว่าสิ่งที่ร่างกายต้องขโมยมานั้น คืออะไร ?
ร่างกายเรานั้น จะแปลง ฮอร์โมน ที่ทำให้เรารู้สึกมีความสุข และอยู่ในสมดุล ที่เราเคยนิยาม ว่า good guy หรือ progesterone มาใช้แทน เพราะมันมีโครงสร้างของโมเลกุลที่ใกล้เคียงกับ cortisol มาก ดังนั้นจึงกระทบกับปริมาณ progesteroneที่ร่างกายเราจำเป็นจะต้องใช้ นี้คือจุดที่ทำให้เกิด ฮอร์โมน "Shift" ขึ้น มีผลทำให้ฮอร์โมน estrogen เด่นขึ้น คาดความควบคุมจาก progesterone เกิดอาการ PMS และก้าวเข้า "สู่วัยทอง" เร็วกว่าที่ควร เป็นบ่อเกิดของเนื้องอกในมดลูก มะเร็งเต้านมได้ ลักษณะคล้ายกับรูปประกอบด้านล่าง
ฮอร์โมนเพศ Estrogenและ Testosterone ลดลงได้อย่างไร ?
มีสามฮอร์โมนหญิง estrogens หลักในร่างกาย คือ estradiol, estrone และ estriol ชนิดแรก estradiol นี้ แข็งแรงมากอุดมสมบูรณ์และใช้งานมากที่สุด ส่วนชนิดที่สอง estrone นั้น เป็นชนิดที่ไม่คงสภาพยุ่ได้นาน ผลิตที่รังไข่และเนื้อเยื่อไขมัน และสามารถใช้เป็นตัวสำรองได้ หาก estrogens มีไม่เพียงพอ และชนิดที่สาม คือ estriol รกผลิตในระหว่างตั้งครรภ์ และเป็นตัวชี้วัดทดสอบการตั้งครรภ์ได้ ระดับ estriol ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ในผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน และหากความเครียดยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องเป็นปี..ฮอร์โมน progesterol ไม่มีเพียงพอยาวนานเช่นนี้ จะมีผลกระทบต่อฮอร์โมนที่สำคัญตัวต่อไปอีก... คือฮอร์โมน Estrogen DHEA Testosterone ให้พร่องลงตามลำดับตามรูปประกอบด้านล่างนี้


เมื่อมีความเครียดตลอดเวลา และยาวนาน ร่างกายจำเป็นจะต้อง ใช้ cortisol มาลดความเครียดลงตลอดเวลาเมื่อวัตถุดิบมีไม่เพียงพอ ร่างกายจำเป็นจะต้องนำวัตถุดิบที่เตรียมไว้สำหรับผลิตฮอร์โมนตัวอื่นๆ มาใช้แทน...ทำให้ฮอร์โมนเหล่านี้พร่องลงตาม เช่น estrogen และ testosterone ตามแผนภูมิด้านบน การเสื่อมสภาพของการทำงานของรังไข่ (การลดระดับของ Estrogen) จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวัยหรือระบบต่าง ๆ ในร่างกายของสตรีวัยทอง ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ และโรคบางอย่างตามมา เช่น
- อาการร้อนวูบวาบตามร่างกาย หรือ Hot Flashes เหงื่อออกในเวลากลางคืน ปวดศีรษะนอนไม่หลับ
- ซึมเศร้าหงุดหงิด กังวลใจ หวั่นไหวง่าย ความจำเสื่อมไม่มีสมาธิ อ่อนเพลียความต้องการทางเพศลดลง
- ช่องคลอดแห้งแสบร้อนบริเวณปากช่องคลอด มีการหย่อนยานของมดลูกและช่องคลอดมีการหย่อนยาน
ของกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ขณะไอหรือจาม และมีความอยากถ่ายปัสสาวะอยู่เสมอ
- ผิวหนังแห้ง เหี่ยวย่นผมแห้ง ผมร่วง
- ปวดตามกล้ามเนื้อปวดหลัง ปวดตามข้อ
- เต้านมมีขนาดเล็กลง หย่อน
- มีการกระจายตัวของไขมันมาสะสมที่บริเวณหน้าท้องและภายในช่องท้อง
- ฟันผุและสูญเสียฟันได้ง่าย มีการอักเสบของเหงือก อาการเลือดออกจากเหงือกได้ง่าย
- อาจมีอาการตาแห้ง
- ระบบการฟังเสื่อมลง
- มีอัตราเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ และโรคตับ
- โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ
- โรคสมองฝ่อ (Alzheimer's disease), ความจำเสื่อม
- โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ทำให้กระดูกหักได้ง่าย
จากอาการข้างต้นนี้ สตรีวัยทองหรือกำลังจะก้าวสู่ช่วงวัยทอง อย่าเพิ่งมีอาการตื่นตระหนก ความสามารถของแพทย์ทั้งหลาย โดยเฉพาะแพทย์แผนไทยแล้วสามารถที่จะบรรเทาหรือชลออาการต่าง ๆที่จะเกิดขึ้นนี้ได้ตามตำรับยาแผนไทยทีมีมาแต่โบราณ
คืนความสาวให้หญิงวัยทองและหญิงระดูร้าง ได้ไหม?
จากการสำรวจในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าสหัสวรรษใหม่ที่จะมาถึงในปีหน้านี้จะมีสตรีวัยทองในประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 36 ล้านคน คือ ประมาณ 30% ของเพศหญิง ซึ่งในประเทศไทยเองก็คาดว่าน่าจะเป็นตัวเลขทีมีมากกว่า 10 ล้านคน วัยทองหรือ Climacteric period หรือ Menopausal period นี้ จะเกิดกับสตรีที่มีอายุ 40-45 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยที่ กำลังมีความก้าวหน้าในการงาน และ เป็นกำลังทีสำคัญ ในการพัฒนาประเทศ จึงเป็นที่น่าเสียดาย หากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกาย จะก่อให้เกิดปัญหาทั้งด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพใจกับสตรีในชีวิตช่วงนี้ หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ปรึกษาได้ที่ หมอสิงห์ เฒ่าค่ำช้าง www.banmaela.com หรือคลิก สมุนไพรสำหรับคนไข้ของหมอ และผู้ประกอบโรคศิลป์เท่านั้น