โรคกระเพาะ  Peptic Ulcer หรือ ดานพืด

 
 ลักษณะทั่วไป

คำว่า "โรคกระเพาะ" (Peptic ulcer) หมายถึง   แผลที่เกิดบนเยื่อบุกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้นหรือดูโอดีนัม (duodenum) ในที่นี้ขอเรียกว่า ดานพืด                                                                            

What Are the Symptoms of an Ulcer?                                 อาการของดานพืด
1.มักมีอาการปวดท้องเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ตรงบริเวณกลางยอดอก หรือใต้ลิ้น ทางขวาหรือซ้ายก็ได้ เวลาที่ปวดมักจะสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น ก่อนหรือหลังอาหาร  อาจปวดแสบ ปวดตื้อ

2.คลื่นไส้อาเจียน หรือเรอเปรี้ยวร่วมด้วย ในผู้ป่วยที่มีแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้นมักมีอาการปวดท้อง หลังอาหารประมาณ 1-3 ชั่วโมง หรือขณะท้องว่าง โดยมากจะเริ่มปวดตอนสาย ๆ หลังกินข้าวแล้ว จะปวด

มากขึ้นในช่วงบ่ายๆ เย็น ๆ และอาจปวดมากตอนดึก ๆ จนนอนไม่หลับ

3.อาการปวดมักจะดีขึ้นทันทีหลังกินอาหาร ดื่มนม กินยาลดกรด หรืออาเจียน

4.อาจทำให้มีอาการปวดหลังร่วมด้วย ถ้าแผลลุกลามไปที่ตับอ่อน  และไม่หายปวดท้องหลังกินอาหาร

5.ในผู้ป่วยที่มีแผลที่กระเพาะอาหาร มักมีอาการปวดท้องหลังอาหาร ประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง

6.เบื่ออาหารและน้ำหนักลด

อาการปวดท้องมักเป็นอยู่นานหลายสัปดาห์ แล้วอาจหายไปได้เอง แต่ก็มักจะมีอาการกำเริบภายใน 1-2 ปีเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ลักษณะอาการของผู้ป่วยแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น กับแผลที่กระเพาะอาหาร  บางครั้งก็อาจจะแยกกันไม่ได้ชัดเจน

·

What Causes Ulcers?                                                                                                

สาเหตุของดานพืด
ในปัจจุบัน พบว่าสาเหตุสำคัญของการเกิดดานพืด ได้แก่
1.
กิมิชาติเอชไพโลไร  H. pylori bacterium ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมลบ  ติดต่อโดยการกินอาหาร หรือน้ำ

ดื่มที่ปนเปื้อนจากอุจจาระของผู้ติดเชื้อ   แล้วเข้าไปฝังตัวอยู่ใต้เยื่อบุกระเพาะ ในระยะแรก อาจทำให้

เกิดกระเพาะอาหารอักเสบ ซึ่งจะเป็นเรื้อรังนานเป็นแรมปี หรือนับเป็นสิบ ๆ ปี ต่อมา ทำให้กลายเป็น

ดานพืด

2. การใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ได้แก่ NSAIDs such as aspirin, ibuprofen, or naproxen พบ

ว่าผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้เป็นประจำ จะมีโอกาสเป็น แผลที่กระเพาะอาหาร10-30% และแผลที่ลำไส้ส่วนต้น 

2-20% และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออก แผลทะลุ มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ยากลุ่มนี้ถึง 3

เท่า ประมาณ 1-2% ของผู้ใช้ยากลุ่มนี้เป็นประจำ จะเกิดภาวะแทรกซ้อนภายใน 1 ปี ยานี้จะระคายต่อ

เยื่อบุกระเพาะอาหารโดยตรง และทำลายกลไกในการต้านทานต่อกรด ของเยื่อบุกระเพาะอาหารและ

ลำไส้

3. ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ บางอย่างอาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคนี้ แต่บางอย่างอาจไม่มีความสัมพันธ์

โดยตรง เช่น
-
เกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ มีญาติพี่น้องเป็นดานพืด
-
การสูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสของการเป็นแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้การรักษาได้ผลช้า ทำให้เกิดภาวะ
  
แทรกซ้อนได้มากขึ้น
-
ผู้ที่มีเลือดกลุ่มโอ อาจเสี่ยงต่อการเป็นแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้นมากกว่าปกติ
-
ความเครียดทางอารมณ์
-
แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสาเหตุของกระเพาะอักเสบชนิดเยื่อบุกร่อน ทำให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร
 
สเตอรอยด์และกาเฟอีน 
-
อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด น้ำอัดลม 


สิ่งตรวจพบ
ส่วนมากมักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติอะไร บางคนอาจรู้สึกกดเจ็บเล็กน้อย ตรงบริเวณลิ้นปี่ในรายที่มีเลือด

ออก (เช่น ถ่ายดำ) อาจตรวจพบอาการซีด

อาการแทรกซ้อน
ถ้าปล่อยให้เป็นเรื้อรัง อาจมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ ที่พบบ่อย ก็คือ ภาวะเลือดออกในกระเพาะอา

หาร หรือ ลำไส้เล็กส่วนต้น ผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระดำส่วนมากเลือดจะ

ออกไม่มากและหยุดได้เอง ส่วนน้อยอาจมีเลือดออกมาก จนบางครั้งเกิดภาวะช็อก ถ้าเลือดออกเรื้อรัง

 ก็อาจเกิดภาวะโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็กได้ บางรายแผลอาจกินลึกจนเป็นรูทะลุเรียกว่า.......

ดานพืดทะลุ (Peptic perforation) ซึ่งอาจทำให้มีเยื่อบุช่องท้องอักเสบร่วมด้วยได้ ผู้ป่วยจะมีอาการ

ปวดท้องรุนแรง และหน้าท้องแข็ง ควรได้รับการผ่าตัด แก้ไขโดยด่วน บางรายอาจมีภาวะกระเพาะ

หรือลำไส้ตีบตัน มีอาการปวดท้องรุนแรง อาเจียนรุนแรง และท้องผูกในรายที่แผลกินลึกไปถึงตับอ่อน

 อาจทำให้มีอาการปวดหลัง หรือมีอาการของตับอ่อนอักเสบร่วมด้วย   ผู้ที่เป็นแผลที่กระเพาะอาหาร

เรื้อรังก็อาจมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้


รักษาได้ไหม?                                                                                                                                                                     

แพทย์แผนไทยรักษาโดยการทำให้น้ำดีเป็นปกติ ให้ได้น้ำดีพัทธะปิตตะที่เข้มมีคุณ

ภาพ ในขณะเดี๋ยวกันก็ให้สมุนไพรที่สมานแผลในกระเพาะและลำไส้  ให้สมุนไพรที่

ช่วยย่อยอาหาร ฆ่ากิมิชาติและรักษาแผล สามารถหายในที่สุด สนใจผลิตภัณท์.......

  ......................คลิ๊กที่นี่....................... 


ข้อแนะนำ

   1 กินอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อ อย่าปล่อยให้หิว                                                                            2 งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ ชา กาแฟหรือเครื่องดื่มกาเฟอีน น้ำอัดลม                                                      3 หลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่เสตอรอยด์, ยาสเตอรอยด์                                      4 อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด น้ำส้ม น้ำผลไม้                                                                              5 ออกกำลังกายเป็นประจำ และหาวิธีผ่อนคลายความเครียด




 
 




 
 

คลิ๊กนี้มีความหมาย

 
 

Copyright (c) 2006 by Rujipass